โครงการลดละเลิกการใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน
ร่วมโครงการลดละเลิกการใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน

1)วัดขนาดฝ้าฉนวนกันความร้อนไอซูเรทบอร์ดตามต้องการด้วยไม้บรรทัด
2) ตัดขนาดฝ้ากันความร้อนไอซูเรทบอร์ดที่วัดไว้ ด้วยเลื่อยหรือคัตเตอร์
3) นำแผ่นฝ้าฉนวนกันร้อนไอซูเรทขึ้นติดตั้งในบริเวณที่ติดตั้งโครงฝ้าเพดานไว้เรียบร้อยแล้ว
4) ทำการยึดแผ่นฝ้าฉนวนกันร้อนไอซูเรทกับโครงฝ้า ด้วยสกรู (ใช้สกรูยาว 2″ ขึ้นไป)
5) หลังจากติดตั้งแผ่นฝ้าเต็มพื้นที่ ให้ปิดรอยต่อระหว่างแผ่นฝ้าด้วยเทป และโป้วปิดรอยหัวสกรูด้วยปูนโป้ว
6) รอจนปูนโป้วแห้ว แล้วขัดรอยปูนโป้วให้เรียบ จึงทาสีฝ้าฉนวนกันร้อนไอซูเรทบอร์ดตามต้องการ
1. หลังคา ส่วนบนสุดของบ้าน ไม่ว่าจะเป็น หลังคา ดาดฟ้า ฝ้าเพดาน
โดนแดดรับความร้อนเข้ามาเต็มๆ แต่ระบายออกไม่ได้, ไม่ดี หรือเคยดีแต่เสื่อมแล้ว
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้ คือติดฉนวนป้องกันความร้อน ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ
(1) ป้องกันความร้อนผ่านเข้ามา วัสดุจะมีรูโพรงอากาศอยู่ภายใน จะเป็นเส้นใย หรือโฟมก็ได้ หุ้มฟลอยมาด้วยก็ยิ่งดี
(2) สะท้อนความร้อนออกไป ถ้าว่ากันตามหลักวิชาการ แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นฉนวนกันความร้อน เนื่องจากเป็นแค่การสะท้อนความร้อนออกไปด้วยความมันวาวของพื้นผิว ซึ่งหากพื้นผิวหมองลง หรือสิ้นความมันวาว คุณสมบัตินี้ก็จะหายไป
2. ลูกหมุนระบายอากาศ
เปล่าประโยชน์ที่จะติด โดยเฉพาะบ้านชั้นเดียว เนื่องจากหลักการทำงานของลูกหมุนระบายอากาศ จะเป็นตัวทำให้อากาศร้อนลอยขึ้นสูงออกไปคงเหลือไว้แต่อากาศเย็นที่หนักกว่าอยู่ด้านล่าง จึงเหมาะกับโรงงานที่มีปริมาณของอากาศใต้หลังคามาก
บ้านชั้นเดียวมันร้อนไปหมด หรือถ้าติดฝ้าไว้ ปริมาณอากาศใต้หลังคาก็น้อยแล้วก็ร้อนไปหมด แทบไม่เหลืออากาศเย็นให้แล้ว
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้
หากใครติดลูกหมุนไว้แล้วก็ติดไป เอาออกเดี๋ยวจะยุ่งไปกันใหญ่ ให้ติดฉนวนกันความร้อน และพยายามหาช่องระบายอากาศให้ได้มากๆ ตามสภาพจะอำนวย
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้ ถ้าบอกให้ทุบทิ้งคงไม่มีใครทำเป็นแน่ คงต้องหาทางระบายอากาศให้ได้ตามสภาพบ้านหลังนั้นๆ
— ข้อต่อไปนี้ จะเกี่ยวกับแอร์ ทั้งแอร์บ้าน และ แอร์คอนโด หรือที่พักอาศัยทุกแบบ —
5. หน้าต่างห้องแอร์เป็นบานเกล็ด
ทำให้ความเย็นรั่ว! อากาศมันรั่วเข้ามาจากบานเกล็ดตลอดเวลา แอร์ก็ทำงานหนัก
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้ เปลี่ยนชนิดของหน้าต่าง โดยใช้วงกบเดิมได้ อาจเปลี่ยเป็นบานเปิด บานเลื่อน หรือ บานอลูมิเนียม แล้วแต่ชอบ
6. ห้องแอร์ที่มีห้องน้ำในตัว
หลักการทำงานของแอร์คือ รีดความชื้นออกไปจากตัวห้อง ดังนั้นความชื้นจากห้องน้ำจะทำให้แอร์ต้องรีดความชื้นเพิ่มขึ้น
แอร์ทำงานหนักและไม่ประหยัดไฟ
แม้เราจะคิดว่า มีประตูหน้าต่างที่ปิดมิดชิดแล้วก็ตาม แต่แน่ใจรือ
เวลาเราเปิดเข้าห้องน้ำก็เป็นช่องเปิดบานเบ่อเร่อแระ
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้
เปลี่ยนบานประตูและช่องระบายอากาศของห้องน้ำเป็นแบบปิดทึบ เลิกใช้บานเกล็ด ไม่ควรเอากระดาษ เอาผ้าไปปิด
เพราะกระดาษและผ้าก็จะชื้น นานเข้าก็จะเกิดรา แถมแก้ปัญหาไม่ได้เลย
7. คอมเพรสเซอร์ วางตำแหน่งไม่ดี
วางติดผนังกำแพงเกินไป วางตากแดด วางที่ระเบียงที่ลมร้อนเป่าออกไปไม่ได้ วนร้อนอยู่แต่ในระเบียง ทำให้ค่าไฟแพง แต่แอร์ไม่เย็น
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้
(1) อย่าให้แอร์คอมเพรสเซอร์โดนแดดดีที่สุด หาอะไรมาบังแดดให้
(2) วางคอมเพรสเซอร์ในตำแหน่งที่มีการระบายอากาศได้ดี ถ่ายเทสะดวก
ถ้าจะเอาตัวเลขระยะห่างก็จะประมาณ ด้านหน้าห่าง 1 เมตร ขึ้นไป ด้านหลังห่าง 50 เซนติเมตรขึ้นไป
หรือตามคำแนะนำในคู่มือติดตั้ง
(3) ระยะคอมเพรสเซอร์ถึงตัวเปล่าลมแอร์ ไม่ควรเกิน 12 เมตร จะทำให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นลดลง
8. มีสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์บังลมแอร์
ไม่ว่าจะเป็นแอร์ติดผนัง ติดเพดานหรือวางกับพื้น สิ่งที่สำคัญคือ อย่าให้มีอะไรไปขวางทิศทางลมแอร์
โดยเฉพาะแอร์ที่ติดตั้งในตำแหน่งสูง ผนังใกล้เพดาน โดยธรรมชาติของแอร์จากตำแหน่งสูงก็ทำให้ห้องเย็นยากอยู่แล้ว
พอมาเจอตัวขวางทางลมเข้าไปอีก บางทีกว่าจะเย็นก็กินเวลานาน กินไฟมาก
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้
จัดเฟอร์นิเจอร์ใหม่ หรือทำให้ห้องโล่งๆ ช่วยเพิมประสิทธิภาพการทำความเย็นดีขึ้น
— 2 ข้อสุดท้าย จะเป็นพฤติกรรมการใช้แอร์ —
9. ปิดแอร์ปุ๊ป เปิดห้องทันที
เพราะคิดว่าประหยัดไฟ เข้าใจผิดแล้ว ถ้าเราปิดแอร์แล้วยังปิดห้องอยู่ มวลอากาศเย็นก็ยังอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนอยู่
ถ้าเปิดห้อง ไม่เพียงแต่ความเย็นจะหายไปแต่ยังพาเอาความชื้นเข้ามาด้วย แล้วเมื่อเปิดแอร์ใหม่ก็ต้องเริ่มต้นไล่ความชื้นกันใหม่อีก
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้
ปิดแอร์แต่อย่าเพิ่งเปิดประตูหน้าต่าง
10. นอนห่มผ้านวมยันสว่าง
การนอนคลุมโปงในผ้านวม เป็นพฤติกรรมการนอนที่ไม่ประหยัดไฟ
ในประเทศที่เป็นอากาศร้อนชื้นอย่างไทย ถ้าในอากาศปกติตอนกลางคืน ใครลองห่มผ้านวมแล้วจะรู้สึกร้อน
เหงื่อออก ก็จะเหนียวเหนอะหนะ ไม่สบายตัว
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้
(1) ตั้งเวลาปิดแอร์ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีอากาศหายใจ มีอากาศใหม่ซึมเข้าไปหมุนเวียนอย่างพอเพียง
(2) เปิดพัดลม(ส่าย) เปิดพัดลมร่วมกับเปิดแอร์ด้วย จะทำให้เย็นเร็วขึ้น หลังจากแอร์ปิดไปอัตโนมัติ ก็ยังได้กระแสลมพัดโบกตลอดคืน
บริษัทฯ ได้นำสินค้าแผ่นฉนวนกันความร้อนโฟม PIR, ฝ้ากันความร้อน , ผนังกันความร้อน และเครื่องพ่นโฟม PU ออกงานสถาปนิก’59 เมื่อวันที่ 26 เม.ย.-1 พ.ค. 59 Challenger Hall 1-3 Impact MaungThongThani ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานจำนวนมาก
1.ป้องกันความร้อน-เย็นได้ดี เนื่องจากมีค่าการนำความร้อน (k) ที่ต่ำกว่าวัสดุอื่น เมื่อเทียบกับความหนาแน่นที่เท่ากัน (PU Foam = 0.023 W/m.K)
2. ไม่ลามไฟ (Fire Resistant) มีการใส่สารกันลามไฟ ให้ดับไฟได้เอง ตามมาตรฐานวัสดุก่อสร้างที่ใช้ในอาคาร
3. ป้องกันน้ำรั่วซึมได้ เนื่องจากเป็นเซลล์ปิด ไม่อุ้มน้ำ
4. ลดเสียงดัง กั้นเสียง (Noise Inhibiting) เพราะมีโครงภายในเซลล์เป็นช่องอากาศเป็นโพรง (Air Gap) เป็นจำนวนมาก ช่วยลดการพาของเสียง
5. ไม่เป็นพิษ (Non-toxic Irritant) เนื่องจากเป็นฉนวนที่แข็งตัวเป็นก้อน ไม่มีกรด-ด่างหรือตัวทำละลายอย่างอื่นจะมาเปลี่ยนสภาวะจากของแข็งเป็นของ เหลวได้ จึงไม่มีสาระคายเคืองหรือสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้เหมือนใยแก้ว
6. ป้องกันมด, นก, หนู, แมลง (Vermin Resistant) ส่วนผสมของเคมีป้องกันไม่ให้สัตว์เหล่านั้นเข้าไปทำรัง หรือทำลายฉนวน
7. น้ำหนักเบาและแข็งแรง (Light Weight & Strrength) โฟมขนาด 1 ม.x 1 ม. x 1 นิ้ว (กxยxหนา) มีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม และยังรับน้ำหนักแรงกดได้ดี
8. ทนต่อกรด/ด่าง โฟม PU ไม่ละลายในกรด/ด่าง แอลกอฮอล์ น้ำมันเครื่อง จึงสามารถป้องกันการเสียหายจากสารที่กล่าวข้างต้น
9. ความคงตัว โฟมพียูไม่มีการยุบตัว เพราะมีความหนาแน่นถึง 35-50 กก./ลูกบาศก์เมตร มีลักษณะแข็ง ไม่เสื่อมสภาพ จึงทนทาน มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปีโดยไม่ต้องบำรุงรักษาแต่อย่างใด (ภายใต้การติดตั้งที่ถูกต้อง)
10. ควบคุมการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ (Condensation Control) โฟม PU จะเป็นตัวกั้นกลางแยกความร้อนและความเย็นอยู่คนละข้าง จึงทำให้ไม่เกิดการเกาะตัวของไอน้ำ
1. ปฏิกิริยาการเกิด PIR เกิดที่อุณหภูมิสูงกว่าปฏิกิริยาของ PUR จึงมีโครงสร้างโมเลกุลที่แข็งแรง ทำให้ PIR มีความแข็งแรงกว่าโพลียูรีเทน (จากรายงานพบว่าต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่า 200 oC จึงจะสามารถทำลายพันธะเคมีของ PIR ได้ ในขณะที่ PUR ใช้เพียง 100-110 oC)
2. พีไออาร์ (PIR) เหมาะใช้กับที่พักอาศัย เพราะมีค่าการเกิดควันน้อยกว่าโพลียูรีเทนโฟม (PUR) โดยพีไออาร์มีค่ากันลามไฟต่ำกว่า 25 แต่ให้ค่าการเกิดควันต่ำกว่า 50 ในขณะที่โพลียูรีเทนโฟมมีค่ากันลามไฟต่ำกว่า 25 และค่าการเกิดควันถึง 150-350-
โพลียูรีเทนโฟม (PUR) มีความยืดหยุ่นและเป็นผงน้อยกว่าแผ่นพีไออาร์ (PIR)
3. ค่าการทนแรงกดต่อความหนาแน่นใกล้เคียงกัน เช่น แผ่นโพลียูรีเทนหรือแผ่นโพลีไอโซ 2 ปอนด์ จะมีค่าการทนแรงกดต่อความหนาแน่นประมาณ 20 psi และมีค่าความเป็นฉนวนใกล้เคียงกันที่ 6.0 ต่อนิ้วโดยเฉลี่ย
ประเภทฉนวน | คุณสมบัติ | ข้อดี | ข้อเสีย |
1) วัสดุฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์ | มีค่าการแผ่รังสีความร้อน (Emissivity) ของผิวอลูมิเนียมต่ำ | มีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนสูง ทนความชื้นได้ดี ไม่ติดไฟและไม่ลามไฟ ไม่ฉีกขาดง่าย | ขาดคุณสมบัติในการป้องกันเสียง |
2) วัสดุฉนวนแบบโฟม | เช่น โพลียูรีเทนโฟมเป็นฉนวนที่กันความร้อน / เก็็บความเย็็นได้ดี | มีคุณสมบัติในการนําความร้อนต่ำ รองรับน้ําหนักกดทับได้ดี มีคุณสมบัติด้านเสียงที่ดี | เกิดก๊าซพิษเมื่อถูกไฟไหม้ |
3) วัสดุฉนวนใยแก้ว | ทํามาจากแก้วหรือเศษแก้วนํามาหลอมและเป็นเป็นเส้นใยละเอียดนํามาอัดรวม กัน | คุณสมบัติในการนําความร้อนต่ำ มีคุณสมบัติด้านเสียงที่ดี | เส้นใยก่อให้เกิดการระคายเคือง ไม่เหมาะกับการใช้งานที่เปิดโล่งโดยไม่มีอะไรปกคลุม |
4) วัสดุฉนวนใยหิน (Mineral Wool) | เป็นเส้นใยจากธรรมชาติ มีสารประกอบของแอสเบสตอส (Asbestos) ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ | มีคุณสมบัติในการกันความร้อนและดูดซับเสียงที่ดี ทนไฟ | ไม่ทนทานต่อความเปียกชื้น |
5) เซลลูโลส (Cellulose) | เป็นวัสดุ Recycle ผสมเคมี เพื่อช่วยให้เกิดการยึดติด | มีค่าการกันความร้อนและเสียงที่ดี ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม | ไม่ทนต่อน้ำและความชื้น มีโอกาสหลุดล่อนได้ |
6) แคลเซียมซิลิเกต (Calcium Silicate) | เป็นผงอัดเป็นแผ่นสําเร็จ | สามารถตัดต่อเหมือนแผ่นยิบซั่ม แต่มีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อน ทาสีทับได้ ทนไฟ | มีน้ำหนักมาก ไม่ทนต่อความชื้น |
7) เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite) | ทําจากแร่ไมก้า มีลักษณะเป็นเกร็ด คล้ายกระจก เป็นผงนําไปผสมกันซีเมนต์ หรือทรายจะได้คอนกรีตที่มีค่าการนําความร้อนต่ำ | สามารถหล่อเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ ทนไฟ | มีน้ำหนักมาก |
8) เซรามิคโค้ดติ้ง (Ceramic Coating) | เป็นสีเเซรามิคลักษณะของเหลวใช้ทาหรือพ่น ช่วยสะท้อนความร้อนได้ดี | ติดตั้งง่าย มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความร้อนที่ผิวอาคารโดยตรง | อายุการใช้งานต่ำ เนื่องจากสภาวะอากาศ การติดตั้งอาศัยเทคนิคความชํานาญสูง |
วัสดุ |
ค่า K (วัตต์/เมตร oC) |
โฟมโพลียูรีเทน |
0.023 |
โฟมแผ่น (โพลีสไตลิน) |
0.031 |
ฉนวนใยแก้ว |
0.035 |
ไม้อัด |
0.123 |
แผ่นยิปซัม |
0.191 |
กระเบื้องแผ่นเรียบ |
0.28 |
ที่มา : คู่มือวิชาการของสถาบันวิศวกรรมความร้อน ความเย็น และระบบปรับอากาศ แห่งสหรัฐอเมริกา (ASHRAE Handbook)